วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการวาดภาพสีน้ำมัน landscape

วางแผนคือเราต้องจินตนาการให้เห็นภาพที่เสร็จแล้วของเรา
ใช้จินตนาการจ้องมองเข้าไปในเฟรมที่โล่งและขาวอันนี้
นี่แหละครับกระบวนการนี้คงต้องผ่านการสเก็ตซ์หาแบบกันก่อน
แต่ถ้ามีภาพอยู่ในหัวแล้วก็ลุยเลย
สเก็ตซ์บนนั้นเลย ย้ำอีกครั้งนะครับค่อยๆทำไม่ต้องรีบหรือเร่งแต่ประการใดค
เพราะการวาดภาพสีน้ำมันถ้า แบบเราไม่แน่นอนแล้ว งานศิลป์ของเราคงต้องล้มพับนอนหงายเก๋ง
หาทางออกเพื่อทำให้ภาพจบได้อย่างแสนอยากเย็น
แต่ก็ยังดีกว่าสีน้ำแหละครับ เพราะสีน้ำมันยังแก้ไขได้ ลงสีทับได้
ส่วนสีน้ำ ถ้าแบบไม่ชัวร์จิตใจลังเลก็เรียบร้อยเลยครับ ภาพเจ๊งเลย
มาดูการร่างรูปนี้บ้างนะ
ก่อนอื่นต้องหาเส้นระดับสายตาของภาพก่อน
เมื่อวางตำแหน่งได้แล้วก็ทำการร่างด้วยมุมมองแบบ perspective
สาเหตุที่ทำแบบนี้ก็เพราะจะไม่ทำให้ภาพของเราดูแปลกๆทั้งจม ทั้งเอน เบี้ยว จนผิดตา
อย่างภาพนี้ตีฟ(perspective)ของบ้าน จะต้องเปลี่ยนจากแบบหมด
อีกทั้งแสงและเงาก้อยู่คนละทิศทางกับภาพรวม จึงต้องปรับเปลี่ยใหม่ทั้งหมด

เมื่อกำหนดเส้นได้พอประมาณแล้วก็ทำการร่างภาพแบบคร่าวๆก่อน
ด้วยการประมาณด้วยสายตาและขนาดของวัตถุด้วยตีฟทางสายตาของเราเอง



จากนั้นก็เก็บรายละเอียดการร่างไปเลย
ดูภาพก่อนว่าเราจะให้ตรงไหนเป็นพระเอก และจุดรวมสายตา
ยังไม่ต้องรีบร้อนลงสีนะครับ สำรวจตรวจสอบให้แน่นอนก่อน
นั่งมองสักวันเต็มๆก็ได้ แต่ไม่ต้องถึงกับนั่งน้ำยายยืดนะคุบ(ซูบววว์.. ซดน้ำลายกลับ อิอิ)
มองไปเรื่อยๆแล้วเราจะเห็นข้อผิดพลาดตรงโน้นนิด นี่หน่อย
ค่อยๆแต่งแต้ม ไปจนกระทั่งมั่นใจ แล้วค่อยถอยออกมาพักหายใจก่อน เฮ้อ!รอดไปหนึ่งขั้นตอน

คราวนี้ก็เตรียมอุปกรณ์ก่อน
เรียกว่าต้องเอาให้พร้อม เพราะเวลาเขียนๆอยู่แล้วต้องหาของโน้น นี่ นั่น
มันจะทำให้สมาธิกระเจิงไม่เกิดการต่อเนื่อง
ลงพื้นอยู่ดีๆมัวหาลินซีส พอหาเจอ อ่ะ ..ถึงไหนหว่า(ประจำ)
อุปกรณ์มีอะไรบ้างมาดูกัน

1. สีน้ำมัน(Oil colour)
- การวาดภาพสีน้ำมันจะใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ครับตามสะดวก แต่ผมจะใช้ปนๆกัน(เพราะไปซื้อแล้วไม่มี)
ผมจะแยกให้นะครับว่าตามที่ผมเคยเขียนมานั้นผมใช้แบบไหน ส่วนใครจะชอบยังไงตามถนัดเลยครับ
บางคนอาจไม่ชอบแบบผมเลยก็ได้ และที่ใช้อยู่มีสองยี่ห้อ
ROWNEY - ผมว่าจะออกลักษณะเจลจะมากไปหน่อยน่ะครับและสีก็สดใช้เขียนLandscapeนอกสถานที่ได้เหมาะทีเดียว
Winsor & Newton - ยี่ห้อนี้ผมจะชอบมากครับเนื้อสีแน่นละเอียดดีแบบนี้เหมาะกับ Portraitครับ
นอกนั้นก็ตามสะดวกเลยครับมีหลากหลายยี่ห้อแต่ผมเคยใช้แต่สองแบบนี้น่ะ
2.น้ำยาผสม หรือ ลินซิส(Linseed)มีอีกสองแบบที่ผมใช้อยู่ครับ(อาจมีมากกว่านั้นก็ได้)
แบบที่ว่านี้คือ
-แบบธรรมดา ซึ่งแบบนี้ต้องคอยเป็นเวลาอย่างต่ำก็สามวันแหละครับถึงจะแห้ง(ขึ้นอยู่กับความดูดสีของผ้าใบด้วย)
สำหรับลินซิสแบบนี้เหมาะสำหรับการเก็บรายละเอียดของงานแบบเปียก(สียังไม่แห้งง่ายๆ) ปัดไปถูไปเพิ่มสีไปได้
-แบบแห้งเร็ว(Liquin) แบบนี้จะใช้ผสมกับแบบแรกเพื่อให้แห้งเร็วขึ้นก็ได้
หรือจะใช้เพียวๆในบางจุดหลังเก็บงานตอนหมาดๆหรือแห้งก็ได้ตามแต่ลักษณะการเก็บงานหรืองานที่เร่งๆ

3.น้ำมันสน เอาไว้ล้างพู่กัน
4.พู่กันอ่ะดิ๊ มีทั้งแบบแบนและกลมครับ เอาไว้ใช้ตามลักษณะของงาน
-พู่กันแบน เอาไว้เก็บงานพื้นที่ใหญ่ และสีโดยรวมทั้งภาพ
-พู่กันกลม เอาไว้เก็บรายละเอียดของงานหรือเอาไว้ปัดรอยต่อของสีให้เนียนเรียบหากัน

5.เกียงผสมสี (ก็เอาไว้ผสม+ขูดจานสีไง)

6.ขาตั้งรูป มีไว้สะดวกดีครับทั้งการปรับตำเหน่งหรือการวางของ

7.ตู้วางสี ถ้าไม่มีใช้อะไรก็ได้ครับแต่ถ้ามีก็สะดวกดีมีไว้สำหรับการเก็บสีและเป็นจานสีได้ด้วย
(ของผมจานสีใช้กระจก)

8.ผ้าเช็ดพู่กัน(ห้ามเอาเช็ดหน้า)

9.เก้าอี้ กับห้องทำงาน
 
จากนั้นก็เริ่มสีน้ำหนักที่สองหรือระยะที่สอง
ใช้สีตามระยะก่อนนะ (หน้า กลาง หลัง)พยายามเบรคสีให้อยู่โทนเดียวกันทั้งภาพ
ก่อนที่จะควักสีขาวออกมาผสมสีในจานสีพร้อมกับการเบรคสีไปในตัว
ลงไปเรื่อยๆจนเต็มภาพ อย่าให้เป็นก้อนสีหรือเห็นรอยผ้าใบนะ
เพราะถ้าสีแห้งแล้วจะตามมาเก็บสีแบบเดิมค่อนข้างลำบาก

เมื่อลงพื้นเสร็จเรียบร้อยก็รอครับ เก็บโน้นนิดนี่หน่อยไปเรื่อยๆ
อย่าใจร้อนนะครับ ที่เรากำลังทำอยู่นี้เป็นการวาดภาพสีน้ำมันแบบเขียนเปียกน่ะ(ไม่รู้ว่าศัพท์วิชาการเขาเรียกว่าอะไร)



รออีกวันต่อมาเราต้องมาคอยดูสี
ว่ามันหนึบๆหรือว่ายังไม่มีทีท่าจะแห้งหรือแห้งเรียบร้อยไปแล้ว
ตอนนี้ก็เรียกว่าเก็บงานตอนหมาดๆล่ะ
คือสีต้องหมาดๆไม่เปียกหรือแห้งสนิท
เราค่อยๆเพิ่มเติมเข้าไปครับสีบางส่วนที่จมอยู่สามารถคัดสี*ขึ้นมาได้เลย
(*คัดสี คือ การลงสีเดิมเก็บทับเพื่อเน้นบางส่วนให้เด่นขึ้น)
ถึงตอนนี้ก็เริ่มใช้พู่กันกลมแล้วล่ะ แบนๆกลมสลับกันไปตามความถนัดและจังหวะของสี



เก็บรายละเอียดไปเรื่อยๆครับกับจังหวะสีที่หนึบๆ
เพราะการวาดภาพสีน้ำมันกับสีที่หนึบหนับจะทำให้สีที่เราเพิ่มไปนั้นยังซอฟเป็นส่วนหนึ่งของงานอยู่ครับ
เก็บไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้า น้ำหรือเขา ทีละนิดทีละหน่อย ทีละส่วน
ค่อยๆไป ค่อย ค่อยไป





อีกวันต่อมาหรือสองวันหลังจากที่เราเก็บไปเรื่อยๆเล็งแล้วเล็งอีกเล็งอีกก้เล็งแล้ว
จะตีลังกาเล็งจนตาเอียง ตัว หัว เอียงไปตามๆกัน
ก็มาถึงตอนเก็บแห้งซะที
การวาดภาพสีน้ำมันแบบเก็บแห้งคือการคัดเพิ่มสีให้เด่นขึ้นมาครับ
จะเป็นการเก็บรายละเอียดของภาพเล็กๆน้อยๆ
จากพื้นที่ใหญ่ๆที่เราลงไปหมดทั้งเฟรมแล้ว คุมโทนสีได้แล้ว
เราก็ค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆ


จากนั้นก็รออีกรอบ
รอจนเมื่อทุกอย่างแห้ว เอ๊ย!แห้งสนิทก็ทำการเคลือบ Picture Varnish Glossy
ต้องเคลือบงานกันหน่อยครับเพราะว่าไม่งั้นสีที่เราลงภาพไปนั้น จะมันหรือด้านไม่เท่ากันทั้งภาพครับ
สาเหตุเพราะการที่เราทับสีหรือการเก็บหมาดเก็บแห้งนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น